หน้า 8

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  เครื่องมือที่จะนำมาใช้เก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการ คือ
          1. สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา (ตัวแปร)
          2. เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง
          3. มีคุณภาพสูง


แบบสอบถาม(QUESTIONAIRE)คือ ชุดของคำถามที่ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ผู้วิจัยต้องการทราบ โดยให้ผู้ตอบอ่านคำถามและ เขียนตอบด้วยตนเอง ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนตัว ความคิดเห็น  ความต้องการ  ความพึงพอใจ
 
การสัมภาษณ์ (INTERVIEW)คือ  การพูดคุยกันอย่างมีจุดมุ่งหมายระหว่างบุคคล 2  ฝ่าย คือ ผู้สัมภาษณ์ กับผู้ถูกสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนตัว ความคิดเห็น  ความต้องการ  ความพึงพอใจ

การสังเกต (OBSERVATION)คือ การเฝ้าดูพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายโดยอาศัยประสาทสัมผัส   แล้วจดบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการลงสรุปพฤติกรรม ใช้เก็บข้อมูลความสามารถด้านการปฏิบัติ  ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ

มาตรวัดเจตคติ(ATTITUDE SCALE)คือ  รายการคำถามที่ใช้กระตุ้นให้บุคคลแสดงความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมาเป็นระดับความเข้มของความรู้สึก ซึ่งอาจเป็นไปในทิศทางบวกหรือลบก็ได้ ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ เจตคติ ซึ่งเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งนั้น ๆ 

    
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวิจัย

1. กำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษา การกำหนดตัวแปรจะช่วยผู้วิจัยกำหนดทิศทางการสร้างเครื่องมือ  ให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2. นิยามตัวแปร ตัวแปรที่ผู้วิจัยจำเป็นต้องให้นิยาม คือ ตัวแปรตาม หรือตัวแปรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาโดยต้องนิยามเชิงปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ (นิยามเชิงปฏิบัติการ    เป็นการอธิบายความหมายตัวแปรให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เป็นรูปธรรม  โดยระบุตัวบ่งชี้ของสิ่งที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน)

3. เลือกเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยจะต้องเลือกเครื่องมือวิจัยให้สอดคล้องกับตัวแปร เช่น ใช้แบบสอบถามวัดความคิดเห็น ใช้แบบทดสอบวัดความรู้ ใช้แบบสังเกตวัดความสามารถในการปฏิบัติ

 4. สร้างเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้มีความแจ่มชัดในตัวแปรที่ต้องการศึกษา  เข้าใจลักษณะและเทคนิคการสร้างเครื่องมือก่อนลงมือสร้าง แล้วลงมือสร้างเครื่องมือให้สอดคล้องกับนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปร

5. พิจารณาทบทวนเครื่องมือวิจัยที่ตัวเองสร้างขึ้น เมื่อสร้างเครื่องมือเสร็จ ผู้วิจัยต้องนำรายการข้อคำถามที่สร้างขึ้นมาพิจารณาทบทวนด้วยตนเองว่าสอดคล้องกับนิยามเชิงปฏิบัติการที่กำหนดไว้หรือไม่   ถูกต้องตามเทคนิคการสร้างเครื่องมือนั้น ๆ หรือไม่  ถ้าพบข้อบกพร่องให้ดำเนินการแก้ไข

 6. ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 
      1) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้องระหว่าข้อคำถามกับนิยาม
   2) ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยนำเครื่องมือไปทดลองแล้วนำผลมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า


วิธีตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ


ขั้นที่ 1 นำข้อคำถามที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ อย่างน้อย 3 คนพิจารณาว่าสอดคล้องกับนิยามหรือไม่ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน  ดังนี้
                              +1 เมื่อ แน่ใจว่าคำถามสอดคล้องกับนิยาม
                                0 เมื่อ ไม่แน่ใจใจว่าคำถามสอดคล้องกับนิยามหรือไม่
                               -1 เมื่อ แน่ใจว่าคำถามไม่สอดคล้องกับนิยาม

ขั้นที่ 2  นำคะแนนของผู้เชี่ยวชาญทุกคนมาแจกแจงเพื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยาม ด้วยสูตร
                                              

 ขั้นที่ 3 แปลความหมายค่าดัชนีความสอดคล้อง
                      ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยาม