หน้า 6

สมมุติฐาน (Hypothesis) 
         หมายถึง คำตอบที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล

               สมมุติฐานที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ต้องมั่นใจว่าได้คาดคะเนคำตอบอย่างสมเหตุสมผลแล้ว โดยทำการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะทำวิจัย จนเกิดความชัดเจนในปัญหา และเห็นแนวทางของคำตอบว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด ก่อนคาดคะเนคำตอบ
             สมมุติฐานในการทำวิจัย มี 2 ประเภท คือ สมมุติฐานทางสถิติ ( Statistical Hypothes)  กับสมมุติฐานทางการวิจัย (Research Hypothesis) ในหน้านี้จะกล่าวเฉพาะ สมมุติฐานทางการวิจัยเท่านั้น

            สมมุติฐานทางการวิจัย เป็นคำตอบของปัญหาการวิจัยที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้อย่างสมเหตุสมผล โดยใช้ข้อความบรรยาย และปรากฎอยู่ในรายงานวิจัย  มีลักษณะที่สำคัญ  3 ประการ  คือ
                       1.  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
                       2.  แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
                       3.  ทดสอบได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการทางสถิติ

            สมมุติฐานทางการวิจัย แบ่งเป็นสองประเภท 
                       1.  สมมุติการการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional Hypothesis) คือ  สมมุติฐานที่เขียนโดยไม่ระบุทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปร  เพียงแค่ระบุว่าแตกต่างกัน  หรือสัมพันธ์กัน  เช่น  นักเรียนในชนบทกับนักเรียนในเมืองมีปัญหาในการสิบค้นข้อมูลแตกต่างกัน
                       2.  สมมุติการการวิจัยแบบมีทิศทาง (Directional Hypothesis) คือ  สมมุติฐานที่เขียนโดยระบุทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปรไว้อย่างชัดเจน  ว่าคำตอบจะเป็นไปในทางบวก หรือลบ  สูง หรือต่ำ   มากหรือน้อย  เช่น  นักเรียนในชนบทมีปัญหาในการสิบค้นข้อมูลมากกว่านักเรียนในเมือง

              การตั้งสมมุติฐานทางการวิจัยแบบมีทิศทางหรือไม่มีทิศทาง ขึ้นอยู่กับการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าได้ข้อมูลที่มีแนวโน้มอย่างไร ถ้าข้อมูลมีแนวโน้มไปทางใดทางหนึ่งมากพอที่จะยืนยันได้ ให้ตั้งสมมุติฐานทางการแบบมีทิศทาง ถ้ามีข้อมูลไม่มากพอ ให้ตั้งสมมุติฐานทางการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง

               ตัวอย่างการกำหนดสมมุติฐานทางการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย :  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูอัตรจ้างในโรงเรียน
                                              มัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
                                              (วัตถุประสงค์การวิจัยในข้อ 1 ไม่ได้แสดงความสัมพันธ์ของ 
                                                 ตัวแปร ไม่ต้องกำหนดสมมุติฐาน)
                                          2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของครูอัตราจ้างในโรงเรียน
                                              มัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีประสบการณ์สอน
                                               ต่างกัน

สมมุติฐานการวิจัย :             1. ครูอัตราจ้างในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครที่มี
                                              ประสบการณ์สอนแตกต่างกันมีพฤติกรรมการสอนแตกต่างกัน
ตัวแปร
              ตัวแปร   คือ ลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษาซึ่งเปลี่ยนแปลงค่าได้มากกว่า 1 ค่า
เช่น  เพศ แบ่งเป็น  ชาย กับ หญิง    อายุ  แบ่ง เป็น 15 ปี   16  ปี   17  ปี  .......  

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย  มี 3 ประเภท  คือ

1.  ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เกิดก่อน หรือ เป็น   
    ตัวแปรที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดผลตามมา

2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เกิดทีหลัง หรือ เป็นตัวแปรที่เป็น ผลมา
    จากการกระทำของตัวแปรต้น และ มักเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา
 
                 ตัวอย่างการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม 

         นักเรียนเพศชายกับเพศหญิงมีความสนใจในการอ่านข่าวกีฬาแตกต่างกัน
              ตัวแปรต้น    คือ เพศ         
              ตัวแปรตาม  คือ  ความสนใจในการอ่านข่าวกีฬา

3. ตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable)  เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อตัวแปร
    ตามแต่ผู้วิจัยไม่ต้องการศึกษา ถ้าไม่ควบคุมไว้จะทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อน  บางครั้ง
    เรียกว่า ตัวแปรควบคุม (control Variable)

                ตัวอย่างการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม  ตัวแปรควบคุม

         นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบนิรนัยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียน
         ด้วยวิธีปกติ
              ตัวแปรต้น   คือ  วิธีสอน      
             ตัวแปรตาม  คือ   ผลสัอนมฤทธิ์ทางการเรียน
              ตัวแปรเกืน  คือ   สติปัญญาของนักเรียน   ความสามารถในการสอนของครู 


การนิยามตัวแปร
              เมื่อผู้วิจัยกำหนดตัวแปรที่ต้องการทำวิจัยแล้ว ต้องให้นิยามความหมายตัวแปรให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการสร้างเครื่องมือวิจัย  การให้นิยามตัวแปร ทำได้  2 ลักษณะ คือ

             1. นิยามทั่วไป (Genneral Deffinition)   เป็นการอธิบายความหมายตัวแปรตามพจนานุกรม ตามทฤษฎี หรือตามที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนด  เช่น  

         ความคิดเห็น หมายถึง ความคิด ความเชื่อ หรือ มุมมองของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด

             2.  นิยามปฏิบัติการ(Operational Deffinition) เป็นการอธิบายความหมายตัวแปรให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรม โดยระบุตัวบ่งชี้ของสิ่งที่ ต้องการศึกษาอย่างชัดเจน ใช้ในการนิยามตัวแปรตาม   เช่น
     
          ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน หมายถึง ความคิด หรือมุมมองของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ 4 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการดำเนินการสอน ด้านการใช้สื่อ และด้านการวัดประเมินผล