ปัญหาวิจัย เป็นคำถามที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เช่น ครูดีมีลักษณะอย่างไร ครูมีปัญหาอะไรในการจัดการเรียนการสอน นักเรียนหญิงกับชายใครปรับตัวได้ดีกว่ากัน ส่วนปัญหาที่ไม่ได้เป็นปัญหาวิจัย คือ ปัญหาที่เป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้ว หรือได้รับการพิสูจน์แล้ว หรือเป็นปัญหาที่พิสูจน์โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เช่น โลกกลมหรือแบน ตายแล้วไปไหน ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน
ลักษณะปัญหาวิจัยที่ดี
1.ควรอยู่ในรูปคำถาม
2.ไม่ควรกว้างหรือแคบเกินไป
3.ต้องเป็นปัญหาที่ชัดเจน
4.เป็นปัญหาที่มีความหมายและสัมพันธ์กับทฤษฎี
5.ไม่ขึ้นกับค่านิยม และพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์
6.ถ้าในเรื่องเดียวมีปัญหาหลายข้อทุกข้อควรเป็นเรื่องเดียวกัน
7. มีประโยชน์ คุ้มค่าที่จะทำ
8. เป็นปัญหาใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำ
9. ผู้วิจัยมีความสนใจ มีความรู้ และความสามารถในการทำ
10.ผู้วิจัยมีเวลา และงบประมาณในการทำ
ที่มาของปัญหาวิจัย
ผู้วิจัยอาจได้หัวข้อวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.จากผลงานวิจัยที่ทำไว้แล้ว (ศึกษาต่อเนื่องจากการวิจัยเรื่องนั้น)การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย
2.จากแง่คิดที่ได้จากการสนทนา หรือการฟังบรรยาย
3.จากปัญหาในการปฎิบัติงานของตนเอง
4.จากการนำทฤษฎีต่าง ๆ มาทดลองใช้
5.จากการวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ต่าง ๆ
6.จากหน่วยงานที่ให้ทุนทำวิจัย
เมื่อได้ปัญหาวิจัย ซึ่งอยู่ในรูปคำถามที่ต้องการคำตอบแล้ว จะต้องนำมาเขียนหัวข้อปัญหา หรือชื่อเรื่องให้ชัดเจน โดยควรกำหนดให้ครอบคลุม 3 ประเด็นดังนี้
1.ระบุตัวแปรที่ต้องการศึกษา (ศึกษาอะไร)ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย (ชื่อเรื่อง)
2.ระบุกลุ่มที่ต้องการศึกษา (ศึกษากับใคร)
3.ระบุสถานที่ที่ต้องการศึกษา (ศึกษาที่ไหน)
ปัญหาวิจัย : นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขต กทม. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ระดับใด ?
1.ระบุตัวแปรที่ต้องการศึกษา(ศึกษาอะไร) : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
2.ระบุกลุ่มที่ต้องการศึกษา (ศึกษากับใคร) : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
3.ระบุสถานที่ที่ต้องการศึกษา (ศึกษาที่ไหน) : โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร
หัวข้อปัญหาวิจัย : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลายในเขตกรุงเทพมหานคร
ปัญหาวิจัย : ผู้ปกครองในโรงเรียนสังกัดสพฐ. มีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน
อย่างไร ?
1.ระบุตัวแปรที่ต้องการศึกษา(ศึกษาอะไร) : ความมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ
2.ระบุกลุ่มที่ต้องการศึกษา (ศึกษากับใคร) : ผู้ปกครอง
3.ระบุสถานที่ที่ต้องการศึกษา (ศึกษาที่ไหน) : โรงเรียนในสังกัด สพฐ.
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เป็นการเขียนขยายชื่อเรื่องการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น ว่าต้องการศึกษาอะไร กับใคร ในแง่มุมใด โดยเขียนเรียงเป็นข้อ ๆ ตามประเด็นที่ต้องการศึกษา และเมื่อเขียนแล้วต้องทำให้ครบทุกข้อ
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
2. ตามด้วยลักษณะที่ต้องการทำในงานวิจัย เช่น
เพื่อศึกษา.... เพื่อเปรียบเทียบ.... เพื่อพัฒนา....
3. ตามด้วยตัวแปรที่ต้องการศึกษา เช่น
เพื่อศึกษาปัญหาการฝึกประสบการณ์เต็มรูป....เพื่อเปรียบเที่ยบประสิทธิภาพในการทำงาน.......
เพื่อศึกษาปัญหาการฝึกประสบการณ์เต็มรูป....เพื่อเปรียบเที่ยบประสิทธิภาพในการทำงาน.......
4. ตามด้วยกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการวิจัย เช่น
เพื่อศึกษาปัญหาการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มรูปของนักศึกษาสาขาการศึกษาชั้นปีที่ 4
ตัวอย่างการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
หัวข้อปัญหาวิจัย : ความถนัดทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์การวิจัย : 1. เพื่อศึกษาความถนัดทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อเปรียบเทียบความถนัดทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น
ฐาน ระหว่างนักเรียนหญิง กับนักเรียนชาย